วิธีการเก็บรักษาใบชา

ใบชาแห้งจะดูดซับความชื้นและกลิ่นได้ง่าย ซึ่งมีผลต่อรสชาติและกลิ่นของใบชาอย่างมาก จึงควรเก็บใบชาให้ถูกวิธี ด้วยการเก็บไว้ในภาชนะมีฝาปิดสนิท ไร้กลิ่น เช่น กระป๋องโลหะ และไม่ควรเก็บใบชาในภาชนะพลาสติก เพราะใบชาจะดูดกลิ่นพลาสติกเข้าไปจนทำให้เสียรสชาติ ไม่ควรเก็บชาหลายชนิดไว้รวมกัน จะทำให้กลิ่นปะปนกัน รวมถึงไม่ควรเก็บใบชาไว้ใกล้กับเครื่องหอม เครื่องเทศ หรือส่วนผสมต่างๆ ที่มีกลิ่นแรง เพราะใบชาจะดูดกลิ่นเหล่านั้นเข้ามาด้วยเช่นกัน

เทคนิคการชงชาให้อร่อย

การดื่มชาให้อร่อยนั้น นอกจากต้องรู้จักเลือกชนิดของชาแล้ว ขั้นตอนการชงชาเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และพิถีพิถัน จึงจะสามารถลิ้มรสชาติแท้ๆ ของชาได้มากที่สุด โดยมี 5 เทคนิคที่ควรจดจำ ดังนี้

สรรพคุณของชา

นอกจากเสน่ห์จากกลิ่นหอมและรสชาติเฉพาะตัวองชาแต่ละชนิดแล้ว ในใบชายังมีสารที่ดีต่อสุขภาพและมีสรรคุณทางยา ดังนี้ คาเทชินพอลิฟีนอล (Catechin Polyphenol) เป็นสารที่พบมากในชาเขียว มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง และลดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการฉายแสงในผู้ป่วยมะเร็งจะช่วยลดอัตราการเสียหายของเซลล์ รวมทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย ชาขาวมีกระบวนการผลิตสั้นกว่าชาเขียว จึงทำให้มีค่าของสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าถึงสามเท่า กาเฟอีน (Caffeine) ถ้าบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นสารช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง เสริมการทำงานของหัวใจและไต นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะและขยายหลอดลมได้ดี แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจและเด็ก หรือถ้าต้องการดื่ม ควรเลือกชาสกัดกาเฟอีนแทน แทนนิน (Tannin) เป็นสารที่พบมากในใบชา ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักใบชาที่ใช้ชง จึงทำให้ใบชามีรสฝาด มีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ บรรเทาอาการท้องเสีย เพิ่มความยืดหยุ่นแก่กล้ามเนื้อหัวใจและผนังหลอดเลือด เหมาะกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่ถ้าหากดื่มน้ำชาในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ท้องผูก นอกจากนั้นในใบชายังมี ทีอะนีน (Theanine) ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท แคโรทีนนอยด์ (Carotenoid) ที่เป็นโปรวิตามินเอตามธรรมชาติ ช่วยในการมองเห็น รวมถึง คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ที่ช่วยล้างพิษออกจากร่างกาย และโปรแอนโทไชยานิดิน (Proanthocyanidin) ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความแก่ เป็นต้น

ชาต่างๆ มีกี่ชนิดบ้าง

ชื่อเรียกและลักษณะของชาจำนวนมากในท้องตลาดได้มาจากชาต้นเดียวกัน คือ ต้นคาเมลเลีย ซิเนนซิส (Camellia Sinensis) เพียงแต่นำไปผ่านกระบวนการผลิตแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้หากจำแนกชนิดของชาตามกระบวนการผลิตชา จะแบ่งได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่